WEAVING LIVES First-ever Fashionshoot at Tungkum Gold Mine
After ten relentless years, they’ve won the case against Tungkum Mining Company. The mine closed down. But the battle has left permanent scars to the land. Mining contaminated their water sources, destroying their livelihood, tearing apart their sense of community.
They are now entering the long awaited the rehabilitation process that should reflect their the plan towards environmental recovery, sustainable agricultural livelihood, long-term care for those with permanent illnesses, and communal unity.
This photoshoot was taken at the mine with items from cotton that is grown, handspun and handwoven by the very community that contributed to winning the fight. It aims to portray the reclamation of their land, their livelihood and their dignity. Shining the light on the Rehabilitation of the Shutdown Tungkum Gold Mine
PRE-ORDER NOW AVAILABLE!!
[ CLICK HERE TO VIEW COLLECTION ]
50% of proceeds will go to the mine’s rehabilitation fund. (excluding production costs)
Fashion กับ เหมือง เกี่ยวกันยังไง ?
Collection นี้ ถ่ายใน “เหมือง”
แล้วก็น่าจะเป็น Fashion Photoshoot แรกในประเทศไทยที่ถ่ายทำใน “เหมืองแร่ทองคำ”
Tungkum Gold Mine
เหมืองทอง ทุ่งคำ ได้รับสัมปทานเพื่อก่อสร้างพื้นที่กว่าหนึ่งพันไร่ และได้เริ่มถลุงแร่ในปี 2551 เนื่องจากทางบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและรายงาน EIA ทำให้เกิดการปนเปื้อนแหล่งต้นน้ำ เช่น ไซยาไนด์ สารตะกั่ว สารหนู สารปรอท แมงกานีส
เริ่มมีคนป่วยและเสียชีวิต ผู้อยู่อาศัยที่กว่า 3,300 คน ใน 6 หมู่บ้านได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องซื้อน้ำเพื่อการดื่มกิน ไม่สามารทำการเกษตรทำอยู่ทำกินได้ หลายคนมีค่าโลหะหนักเกินค่ามาตราฐาน อีกทั้งทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน แบ่งฝ่ายแบ่งพวก
ชาวบ้านร่วม 6 หมู่บ้าน ก่อตั้งกลุ่มคนรักบ้านเกิด รวมตัวกันต่อต้านเหมือง ทำให้เกิดการปะทะกัน ชาวบ้านถูกฟ้อง ข่มขู่ มีคดีความต่อเนื่อง จนกระทั่งกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ชนะอย่างเด็ดขาดในคดีฟ้องบริษัททุ่งคคำปลายปี 2561 เป็นการปิดเหมืองที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนเองครั้งแรกในประเทศไทยก็ว่าได้
Nanongbong Weavers vs Mining
“ทอผ้าสู้เหมือง” เป็นที่รู้กันว่าทุนในการต่อสู้คดีความต่างๆส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากการทอผ้าของแม่ๆช่างทอผ้าที่นาหนองบง ผ้าทอลายสีสดใส ได้ถูกส่งไปไกลหลากหลายประเทศในเอเซีย อเมริกา และยุโรป เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวนี้
โฟล์คชาร์ม กะ ช่างทอผ้าที่นาหนองบง
โฟล์คชาร์มเริ่มทำงานกับช่างทอผ้าที่นาหนองบงมาตั้งแต่ปี 2560 ตั้งแต่ก่อนเหมืองปิด เราเริ่มกันตั้งแต่แม่ๆที่นาหนองบงไม่ถนัดการทอผ้าด้วยฝ้ายธรรมชาติที่เข็น(ปั่น)เส้นด้วยมือเพราะยากกว่าการทอด้วยฝ้ายโรงงานมาก แต่พวกเราก็สู้ด้วยกันร่วมปี กว่าผ้าแม่ๆจะสวยผ่านมาตราฐานและนำมาตัดได้ โดยเราชวนช่างทอผู้ชำนาญการจากหมู่บ้านกกบกมาคอยสอนการทอ-การซ่อมผ้าที่ละตารางนิ้ว เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน จนถึงตอนนี้ 4 ปีผ่านไป ช่างทอ 15 คนจากนาหนองบง ส่งผ้ามาให้เราสร้างสรรค์เสื้อผ้าส่งมอบให้ลูกค้ามากว่า 3,000 เมตร แล้ว
Why Photoshoot in the Gold Mine?
การที่เราสามารถเข้าไปในพื้นที่เหมืองได้ สะท้อนถึงการคืนพื้นที่ให้ชาวบ้านสามารถกำหนดอนาคตของตัวเอง เป็นสัญญาณแห่งการคืนสิทธิ์ คืนศักดิ์ศรี ในการทำอยู่ทำกินตามวิถีที่พึ่งพาธรรมชาติ โดยในอนาคต แผนการฟื้นฟูที่สะท้อนความคิดเห็นของทั้ง 6 หมู่บ้าน อยากให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เปิด สร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อให้ผู้คนภายนอกเห็นถึงผลกระทบจากเหมืองทอง
แต่การเดินทางนี้ยังไม่ได้เริ่มต้นเลยแม้เหมืองปิดไปเป็นปีแล้ว กระบวนการฟื้นฟูยังล่าช้า และยังรอการแต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูเหมืองที่มีชื่อสมาชิกหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบอยู่ในรายชื่อกรรมการ เพื่อเกิดกระบวนการเยียวยาและฟื้นฟูที่โปร่งใส่ และสะท้อนความต้องการของผู้ที่ถูกผลกระทบอย่างแท้จริง
“การฟื้นฟูหลังการปิดเหมืองไม่ใช่เพียงการปรับภูมิทัศน์ ไม่ใช่เพียงการแก้ไขโดยใช้เทคนิควิชาการและวิทยาศาสตร์ หัวใจของการฟื้นฟู คือการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย ฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความปรองดองในชุมชนให้ได้มีอำนาจและสิทธิในการตัดสินใจอนาคตด้วยตนเอง” – พี่เลิศ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ (นักกิจกรรมทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่ชุมชนที่ได้รับ ผลกระทบจากเหมืองทั่วประเทศมากว่า 10 ปี) About this Collection แม้เราได้อ่าน ได้ฟังประเด็นเรื่องเหมืองจากแม่ๆสมาชิกทอผ้ามานานหลายปี เราไม่เคยได้รับรู้เลยว่าปัญหาเหมืองทอง มันหยั่งรากลึกกว่าผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เกินความขัดแย้งในชุมชน การฟื้นฟูเหมืองจึงซับซ้อนกว่าที่เราคิดมาก ทั้งประเด็นผลประโยชน์ บทบาทของผู้มีอำนาจท้องถิ่น สิทธิความเป็นมนุษย์ การถูกปฏิเสธการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนของผู้อยู่อาศัย แนวทางคอลเลคชั่นนี้จึงเกิดจากการค้นพบที่ลึกซึ้งขึ้น เราในฐานะคนกลาง สิ่งที่เราทำได้คือการฉายแสงให้ทุกคนได้เห็นถึงสถานการณ์ และมีส่วนร่วมไม่มากก็น้อยในการตีแผ่ปัญหา ไม่ให้การแนวทางการฟื้นฟูเข้าสู้ที่มืด กระบวนการอยุติธรรม คอลเลคชั่นนี้เรา curate looks จากผ้าฝ้ายที่ปลูก ปั่นเส้น ย้อมสีธรรมชาติ และทอมือ จากแม่ๆทอผ้าสู้เหมืองที่นาหนองบงทั้งหมด นางแบบ นายแบบและช่างภาพ ก็เป็นคนเมืองเลยเช่นกัน ครึ่งหนึ่งของรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายจะเข้า “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” เพื่อสนันบสนุนการฟื้นฟูชุมชนและพื้นที่ ที่สะท้อนถึงการเยียวยา และพัฒนาพื้นที่ที่ริเริ่มโดยชุมชนที่แท้จริง เราจะเปิดให้ Pre-order งานเหล่านี้ได้ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ โดยงานทุกชิ้นนี้ทีจำนวนจำกัด ด้วยผ้าที่ทอมาแต่ละม้วนทีอยู่ไม่มาก
ออร์แกนิค #ฝ้ายออร์แกนิค #ฝ้ายเข็นมือ #เสื้อผ้ารักโลก #ผ้ารักษ์โลก #เส้นใยธรรมชาติ #แฟชั่นยั่งยืน #หัตถกรรม #ผลิตภัณฑ์ชุมชน #งานฝีมือ #งานแฮนด์เมด #ผลิตภัณฑ์ชุมชน #sustainablefashion #SlowFashion #ThaiCotton #Organiccotton #EthicalFashion #TraceableFashion #TransparentFashion #ThaiFashion #ThaiTextile #Handwoven #Naturaldye #Handmade #handicraft #Handspinning #Ethicalfashion #Fairtrade #ThaiProduct #CommunityProduct #Thaifairtrade #Womenempowerment #handwovencotton
เราจะเปิดให้ Pre-order งานเหล่านี้ได้ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ โดยงานทุกชิ้นนี้ทีจำนวนจำกัด ด้วยผ้าที่ทอมาแต่ละม้วนทีอยู่ไม่มาก