Frequently Asked Questions on Fabric Care
ทางเราได้รับรีวิวจากคุณลูกค้าหลากหลาย ทั้งที่ชอบมาก และกังวลในเนื้อผ้าของเรา ท่านที่ชอบก็ว่าใส่สบาย ดูเป็นธรรมชาติ ยิ่งเก่ายิ่งนุ่มและดูดี บางท่านว่าดูหนาและแข็ง เส้นฟู ดูเก่าเร็ว หลายท่านยังไม่กล้าลองซื้อ เพราะกลัวดูแลยาก รู้สึกว่าหนา เกรงว่าจะใส่ไม่สบาย …ทุกข้อที่บอกเล่ากันมา ถูกทุกข้อ ผ้าฝ้ายเข็นมือทอมือ อาจจะไม่เหมาะกับทุกบริบท แต่เหมาะกับทุกคนแน่นอน… ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ความเหมาะสม และสไตล์ผู้ใส่ เราเลยอยากไขข้อข้องใจทีละข้อ
ตอนที่ 1 ว่าด้วยฝ้ายเข็น เส้นใย และอายุการใช้งาน
ตอนที่ 2 วิธีการดูแล ที่ไม่ยากอย่างที่คิด
ตอนที่ 3 การดูแลที่โฟล์คชาร์มปฏิบัติ ไร้สารเคมี ผ้าคงความสดสวย และไม่ทิ้งน้ำเสียลงคลอง (coming soon)
[ ไ ข ข้ อ ข้ อ ง ใ จ ] ตอนที่ 1
ฝ้ายเข็น เส้นใย และอายุการใช้งาน
ดูเป็นธรรมชาติ ยิ่งเก่ายิ่งนุ่มและดูดี vs. ดูหนาและแข็ง เส้นฟู ดูเก่าเร็ว
“ฝ้าย” เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มมาเป็นพันๆปี เหมาะกับอากาศบ้านเรา แต่แม้ประเทศเมืองหนาวที่เคยไม่มีผ้า Wool ขนสัตว์ อย่างเช่นญี่ปุ่น ฝ้ายก็ถูกนำมาด้นทับกันให้หนา สวนใส่ต่อสูกับหน้าหนาวติดลบหลายองศาได้ นำมาสู่คำว่า versatile ฝ้ายเหมาะกับทุกสภาพอากาศ
“ฝ้ายเข็นมือ” เป็นเป็นกระบวนการนำปุยฝ้ายมาปั่นให้เป็นเส้นด้วยเครื่องมือ คิดค้นจากภูมิปัญญาดั้งเดิม วิธีปั่นเป็นเส้นมีให้เห็นได้หลากหลายทั่วโลก แต่ที่ใช้ในไทยคือ “หลา” ที่มีกงล้อเพื่อให้เกิดการหมุนปั่นด้วยให้เป็นเกลียว การเข็นฝ้ายให้ได้ 1 กก. จะต้องใช้เวลาเฉลี่ยถึง 2-3 วันเต็ม
. . . แน่นอนว่าเส้นใยที่ได้จากการปั่นฝ้ายด้วยมือนั้นไม่แข็งแรงเท่ากับเส้นด้ายที่ปั่นด้วยเครื่องจักร อีกทั้งสายพันธุ์ฝ้ายที่เราใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอากาศในที่ๆปลูก ที่ดีต่อการเติบโตโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี แต่ข้อเสียก็คือเส้นใยที่สั้น ไม่ยาวเท่าและแข็งแรงเท่ากับฝ้ายนอกที่หลายพันธุ์ถูกพัฒนาพันธุ์หรือตัดแต่งพันธุกรรม
“การเข็นด้วยมือ” ทำให้ความหนาบางของเส้น และคุณภาพของเส้นด้ายต่างกันไป อีกทั้งกระบวนการฆ่าฝ้าย การย้อมสี การทอ การลงน้ำหนักกระแทกฟืม ความห่างของฟันฟืม เป็นปัจจัยหลากหลายที่ทำให้ผ้าของเราแต่ละม้วนแตกต่างกันทั้งความหนา ความแน่น ผ้าของเราจึงไม่มีม้วนไหนที่เหมือนกันเป้ะๆสักม้วน
อีกทั้งเรื่องความคงทนของสี ด้วยที่เราใช้สีย้อมธรรมชาติโดยไม่พึ่งสารเคมีในการติดสีเลย เราจึงยอมรับว่าสีย้อมในผ้าของเรา จะคงทนสู้สีเคมีไม่ได้ สีจะค่อยๆจางลงตามการใช้งานดังนั้นหากเราเข้าใจผ้า เราจะเห็นความสวยงามของมันในแบบที่มันเป็น การดูแลใส่ใจก็จะสะท้อนด้วยความสวยงามระหว่างสวมใส่ สัมผัสที่นุ่ม และอยู่กับเราได้นานจนสามารถส่งต่อได้ เพราะฉะนั้นเราจะบอกลูกค้าเสมอว่า เนื้อผ้าจะไม่ได้เหมือนกันทุกครั้ง
แต่แน่ใจได้เลยว่าจากที่เราค่อยๆลองผิดลองถูกมากว่าเจ็ดปี เราเคร่งครัดขึ้นมากกับคุณภาพการทอให้ผ้าเราใช้ทนขึ้น เลือกผ้าที่เหมาะสมกับแบบมากขึ้น เช่น ผ้าบางจะทำเสื้อ กระโปรง และเดรสมีซับใน ผ้าหนาจะนำมาตัดกางเกง ทำเสื้อคลุม เรายีงมีผ้าเช็ดหน้าที่หนาบางกำลังดี ยิ่งใช้ยิ่งนุ่มใช้แทนผ้าขนหนูขนาดเล็กหรือ Napkin อีกทั้งผ้าพันคอที่ใช้ฝ้ายเข็นมือเส้นหนาเฉพาะทอเพื่อให้ได้ความนุ่มฟู
อาจพอจะเข้าใจธรรมชาติของเส้นใยธรรมชาตินี้แล้ว คราวหน้า เราจะมาเล่าถึง “การดูแลผ้า” ที่แสนพิเศษนี้กัน ง่ายมากๆและไม่ยากอย่างที่คิดเลย
[ ไ ข ข้ อ ข้ อ ง ใ จ ] ตอนที่ 2 การดูแล ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
CARE GUIDELINES :
หากใครที่อาศัยอยู่กับคุณแม่ คุณย่า คุณยาย หรือหวนกลับไปคิดถึงช่วงวัยเด็ก เราจะได้เห็นเสื้อผ้าที่สั่งตัดและถูกใช้มาหลายสิบปี ด้วยการตัดเย็บที่เรียบร้อยและการดูแลที่เหมาะสม ที่บ้านเราก็เช่นกัน คุณย่าเรา อายุ 94 ปีแล้ว ยังสามารถใส่ชุดที่ท่านตัดใว้เมื่อ 40-50 ปีก่อนได้ เราเองก็ยังได้รับมรดกเป็นชุดผ้าไหมมาหลายชุด
แต่ในปัจจุบัน พวกเรามักสะดวกในการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าธรรมชาติ ถูกแทนที่ด้วยเส้นใยที่มนุษย์สร้างขึ้นจากผลพลอยได้ของการขุดน้ำมันทั้ง Polyester, Nylon, Acryllic ที่แม้มีราคาถูก ดูแลง่าย แต่ก็ส่งผลกระทบที่ไม่ยั่งยืนต่างๆ การซักทุกครั้ง จะปล่อย Microplastic ลงทะเล ซึ่งกลายไปอยู่ในท้องสัตว์ทะเล และเมื่อไม่ใช้แล้วก็จะอยู่กับโลกเราไปชั่วลูกชั่วหลานเพราะไม่สามารถย่อยสลายได้
ความสะดวกซื้อนี้จริงๆแล้วไม่ได้อยู่กับเรามาแต่ก่อน เพียงไม่กี่สิบปีให้หลังมานี้เองที่มนุษย์เริ่มซื้อเสื้อผ้าสำเร็จในจำนวนที่มากขึ้น ทำให้เรามองข้าม “คุณค่า” หลายๆอย่างในวิถีชีวิตเราไป หลายคนจึงอาจไม่ได้ดูแลเสื้อผ้าเสมือนของรักของเราเช่นก่อน จึงออยากชวนคิดถึง “การดูแล” สิ่งที่เรารัก หรือสิ่งที่อยากให้อยู่กับเราไปนานๆ
เราจะนำเสนอวิธีการดูแลผ้าฝ้าย เข็นเส้นด้วยมือ ทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ แบบไม่ยากเลยหากเราเข้าใจ และสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการดูแลเสื้อผ้าเส้นใยธรรมชาติ ผ้าทอมือ งานย้อมสีธรรมชาติที่มีในตู้อยู่แล้วได้ด้วย
… เพราะฉะนั้นหากถามว่าผ้าฝ้ายของเรา “ดูแลยาก” จริงหรือ คำตอบเร็วๆ คือ “ไม่ยาก” แต่การดูแลก็อาจไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับผ้าใยสังเคราะห์ตามท้องตลาด สรุปสั้นๆมา 5 ข้อนี้ ต่อด้วยรายละเอียดวิธีการดูแลผ้าเป็นสเตป
1. ฝ้ายเข็นมือ ไม่จำเป็นต้อง “ซักมือ” เสมอไป
2. “ซักเครื่องได้” เพียงดูแลพิเศษนิดหน่อย
3. “ใส่เครื่องอบผ้าได้” ผ้าไม่หด แต่ออกมาแล้วต้องขยันรีดนิด
4. “รีดด้วยไฟสูงได้” หากมีไอน้ำ จะทำให้รีดง่ายขึ้น
5. การซักบ่อยๆอย่างเดียว ไม่ได้ทำให้ผ้านุ่ม ต้องสวมใส่เพื่อ “นวดผ้า” ด้วย
“ ซั ก “ วิธีที่ดีที่สุด คือการซักมือ โดยใช้นำยาซักผ้าแบบอ่อน ไม่ขยี้แรง บิดเบาๆ สะบัด ตาก แต่เราเข้าใจว่าการซักมือนั้นยากหน่อยสำหรับสมัยนี้ จึงมาแนะนำวิธีการซักเครื่อง ที่สามารถใช้ได้กับผ้าทอมือ หรือผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วได้เลย
ซักเครื่องโดยใส่ตาข่ายถนอมผ้า ใช้น้ำยาซักผ้าแบบอ่อน เลื่ยงการใช้ยี่ห้อที่มีสารฟอกขาวที่จะทำให้ผ้าซีดเร็ว และหลีกเลี่ยงน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ทำให้เส้นใยฝ้ายฟูก่อนวัยอันควร… แต่หากผ้าฝ้ายเข็นที่ได้รับไปแข็งเกินทน ก็สามารถใช้นำยาปรับผ้านุ่มใน 2-3 ครั้งแรกได้และหยุดใช้ โดยการสวมใส่จะเป็นการ นวดผ้า ทำให้ผ้านุ่มขึ้นอีกด้วย* ดีที่สุดหากเลือกการซักใน mode แบบ Gentle / Delicate / Care เพือลดการขยี้แรง หากเลอะคราบแนะนำให้ Spot clean ก่อนลงเครื่องซัก
ที่สำคัญ เลี่ยงการซักรวมกับผ้าย้อมสีเคมี เพราะสีเคมีที่ตก จะซึมเข้าฝ้ายได้ง่าย
“ อ บ “ สามารถใช้เครื่องอบผ้าโดยสามารถใช้ความร้อนสูงได้ เลือกเมนู Delicate / Gentle และแนะนำให้รีดหลังอบเพื่อให้ผ้าคืนตัว เพราะผ้า
“ ต า ก “ สะบัดแรงๆให้คืนทรงก่อนตาก จะทำให้รีดง่ายขึ้น หรืออาจไม่ต้องรีดเลย หากเป็นฝ้ายขาว หรือ ฝ้ายตุ่ยธรรมชาติ ตากกลางแดดได้เลย ผ้าย้อมสีธรรมชาติตากในที่ร่ม ดีที่สุดแนะนำให้พาดตาก แทนที่การใช้ไม้แขวน เพราะผ้าทอจะยืดตามทรงไม้แขวน แต่เหากมีที่จำกัดก็แขวนได้ เพราะเมื่อรีดด้วยเตารีดที่มีไอน้ำ ก็จะคืนตัวปรกติ
“ รี ด “ สามารถรีดด้วยไฟแรง และความดันสูงได้ โดยแนะนำให้ใช้เตารีดที่มีไอน้ำ จะทำให้ผ้าเรียบง่ายขึ้นและไม่ทิ้งรอย
( *ผ้าที่แข็งเกิดจากการต้มฝ้ายในการเตรียมทอและการแปรงระหว่างทอ ด้วยข้าวสวยและข้าวหนียว พื่อให้เส้นฝ้ายเหนียว ไม่ขาด และทอง่าย)
. . . เรามี “เคล็ดลับการดูแลแบบไร้สารเคมี ที่ทำให้สีผ้ายังสดสวย และไม่ทิ้งน้ำเสียลงคลอง” โปรดรอติดตามในตอนต่อไป
#ผลิตภัณฑ์ชุมชน #งานฝีมือ #งานแฮนด์เมด #ผลิตภัณฑ์ชุมชน #sustainablefashion #SlowFashion #ThaiCotton #Organiccotton #EthicalFashion #TraceableFashion #TransparentFashion #ThaiFashion #ThaiTextile #Handwoven #Naturaldye #Handmade #handicraft #Handspinning #Ethicalfashion #Fairtrade #ThaiProduct #CommunityProduct #Thaifairtrade #Womenempowerment #handwovencotton